วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

บทความนี้ เป็นช่องทางให้ท่านผู้อำนวยการโรงเรียน คุณครู ทุกท่านได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการครับ วิธีการเผยแพร่ ท่านเข้ามาที่ความคิดเห็น ครับ ก็อปงานบทคัดย่อ หรืองานที่ต้องการเผยแพร่มาวางไว้เลยครับ ในความคิดเห็นนะครับ หากจะเปิดดูก็ คลิกที่ ความคิดเห็น ครับ ผมจะเรียงรายชื่อไว้ให้ครับ ว่ามีของใครบ้าง
ความคิดดเห็นที่
๑. บทคัดย่องาน ผ.อ.ชัยยุทธ หิรัญวิบูลย์ ครับ
๒. บทคัดย่องาน ผ.อ.สมชาย ชมเมิน ครับ
๓.นายชาญชัย กะภูทิน
เชิญเข้าเยี่ยมชม


ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ : กรณีโรงเรียนบ้านหนองยาว
ชื่อผู้ประเมิน นายชาญชัย กะภูทิน
หน่วยงานที่สังกัด โรงเรียนบ้านหนองยาว อำเภอปราสาท สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต 3
ปีที่รายงาน 2550

บทคัดย่อการประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ : กรณีโรงเรียนบ้านหนองยาว มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดําเนินการในการจัดกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ : กรณีโรงเรียนบ้านหนองยาว ปีการศึกษา 2549 ในด้านการประเมินสภาวะแวดล้อม ด้านการประเมินปัจจัยเบื้องต้น ด้านการประเมินกระบวนการ และด้านการประเมินผลผลิตและเพื่อประเมินประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนวิถีพุทธและนำผลการประเมินที่ได้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ : กรณีโรงเรียนบ้านหนองยาว ในปีการศึกษาต่อไป
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน พนักงานบริการทั่วไป และพระสงฆ์ จำนวนทั้งสิ้น 151 ราย ดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ประจำปีการศึกษา 2549 โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP MODEL ประกอบด้วยการประเมินสภาวะแวดล้อม การประเมินปัจจัยนำเข้า การประเมินกระบวนการและการประเมินผลผลิตและการประเมินประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมตามโครงการ โดยใช้เครื่องมือการประเมิน จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามฉบับที่ 1 แบบสอบถามเพื่อประเมินผลการดําเนินการตามโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ : กรณีโรงเรียนบ้านหนองยาว เป็นแบบสอบถามการประเมินโครงการที่ผู้ประเมินพัฒนาและสร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดและตัวชี้วัดการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธตามรูปแบบของกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ และตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นอื่น ๆ แบบสอบถามฉบับที่ 2 แบบสอบถามเพื่อประเมินประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ : กรณีโรงเรียนบ้านหนองยาว ประจำปีการศึกษา 2549 แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยจำแนกเป็นรายข้อ รายด้านและรวมทุกด้าน พบว่า
1.จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามการประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ:กรณีโรงเรียนบ้าน หนองยาว ทั้งสิ้น 116 คน แบ่งเป็น และผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.90 ครูจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 3.40 นักเรียนจำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 44.80 ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 43.10 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 6.00 พนักงานบริการทั่วไป จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.90 พระสงฆ์ จำนวน 1 รูป คิดเป็นร้อยละ 0.90
2.ผลการประเมินสภาวะแวดล้อม การดำเนินการอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ในการกำหนดกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนบ้านหนองยาว ประจำปีการศึกษา 2549 ซึ่งโรงเรียนสามารถดำเนินการได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ความรู้ความเข้าใจของบุคลากรที่รับผิดชอบและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ อยู่ในระดับปานกลาง ในการมอบหมายงานให้ครูผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ความพร้อมของบุคลากรในการดำเนินงานตามโครงการ อยู่ในระดับมาก โรงเรียนได้เตรียมความพร้อมของบุคลากรโดยมอบหมายให้เข้ารับการประชุมอบรมเพื่อเตรียมการจัดกิจกรรมที่กำหนดในโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ประจำปีการศึกษา 2549 งบประมาณมีความเหมาะสมเพียงพอในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับปานกลาง โรงเรียนได้จัดสรรงบประมาณโครงการจำนวนหนึ่งซึ่งยังไม่เพียงพอในการจัดกิจกรรมตามโครงการและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความพร้อมในการให้ความร่วมมือสนับสนุนโครงการ อยู่ในระดับปานกลาง
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น การดำเนินการอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย ด้านผู้บริหาร ครู มีลักษณะที่ดี ด้านการบริหารจัดการดำเนินการอย่างเป็นระบบ อยู่ในระดับมากและด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมจัดอย่างรอบคอบ ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ การดำเนินการอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการไตรสิกขา ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตรและด้านกิจกรรมพื้นฐานชีวิต
5.ผลการประเมินด้านผลผลิต มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก
การดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการมีประสิทธิผลมาก นักเรียนเป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนสามารถนำผลจากการประเมินโครงการไปเป็นข้อมูลในการตัดสินใจดำเนินโครงการในปีการศึกษา 2550 ต่อไป

2 ความคิดเห็น:

chanchai กล่าวว่า...

บทสรุปของผู้บริหาร
ชื่อเรื่องรายงานการประเมินโครงการเยี่ยมบ้าน โรงเรียนบ้านจบก
ชื่อผู้ประเมินโครงการ นายชัยยุทธ หิรัญวิบูลย์

การประเมินโครงการเยี่ยมบ้าน ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน
ความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้น ที่ใช้ในการดำเนินงานจัดกิจกรรม กระบวนการปฏิบัติตามภารกิจในด้านการวางแผน การดำเนินงาน รูปแบบวิธีการ การประเมินผล ผลที่เกิดขึ้น และศึกษาค่าความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างเพศ , การศึกษาของครู กรรมการสถานศึกษาผู้ปกครองและนักเรียนกับปัจจัยต่าง ๆ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 215 คน โดยใช้การเก็บข้อมูลทุกคน ไม่มีกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบโครงการเยี่ยมบ้าน 1-7 รวมจำนวน 7 แบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ สอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแตกต่างและความสัมพันธ์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการประเมินและข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานนักเรียนรายบุคคลในด้านสภาพครอบครัวโดยแยกเป็นด้านเศรษฐกิจโดยรวมจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ด้านความอบอุ่นในครอบครัว พบปัญหาการขาดความอบอุ่นด้านสภาพในโรงเรียนโดยแยกเป็นด้านการเรียนโดยรวมจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีผลการเรียนต่ำ
ด้านความพอเพียงของอุปกรณ์การเรียน โดยรวมพบปัญหา และผลการรายงานประเมินตนเองของบุคลากรในโรงเรียน ครูผู้สอนทุกคนมีความว่า เห็นด้วยและมีความจำเป็นในการดำเนินงาน สภาพปัญหาในโรงเรียนที่มี เกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กนักเรียนในด้านต่าง ๆ
ระหว่างดำเนินการตามโครงการเยี่ยมบ้าน ทำให้ได้ข้อมูลนักเรียนรายบุคคลที่เป็นข้อมูลตามสภาพจริง ซึ่งจะทำให้รู้ปัญหาหรือจุดเด่นของนักเรียนที่จะป้องกันแก้ไข ส่งเสริมหรือสนับสนุนต่อไปได้อย่างรวดเร็วอีกทั้งยังทำให้ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความใกล้ชิดและมีความสัมพันธ์กันในทางที่ดีขึ้น แต่ก็ยังคงมีปัญหาและอุปสรรคคือ การไม่ได้พบพ่อ แม่
ของนักเรียนครบทุกบ้าน เนื่องจากไปรับจ้างทำงานต่างจังหวัด พบแต่ตายายอยู่ดูแลทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน
หลังการดำเนินงานของครูผู้สอนทำให้เห็นสภาพปัญหา จัดลำดับความสำคัญของปัญหาทำให้สามารถป้องกัน แก้ไข หรือส่งเสริมสนับสนุน ได้รวดเร็วและตรงกับสภาพความเป็นจริง ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ พอใจ ยอมรับฟังความคิดเห็นและพร้อมที่จะช่วยป้องกัน แก้ไข หรือส่งเสริมสนับสนุน นักเรียนมีความเอาใจใส่ต่อการเรียนเพิ่มมากขึ้นนักเรียนร่าเริงแจ่มใส และมีความกระตือรือร้น นักเรียนช่วยเหลืองานทางบ้านมากขึ้น มีเหตุผลและสามารถปรับตัวได้
ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและ
นักเรียนต่อสภาพแวดล้อมในด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า ครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าครูพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือนักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา ตามลำดับ
ผลการศึกษาพบว่าความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างเพศของครู, กรรมการสถานศึกษา, ผู้ปกครองและนักเรียน กับ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการ และนโยบายของหน่วยงาน พบว่าเพศของครู ผู้ปกครองและนักเรียน ไม่มีความเกี่ยวข้องต่อความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบายและความต้องการ ส่วนเพศของกรรมการสถานศึกษามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาของครู, กรรมการสถานศึกษา,
ผู้ปกครอง กับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการ และนโยบายของหน่วยงาน
พบว่าการศึกษาของครู กรรมการสถานศึกษา มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบายและความต้องการ สำหรับผู้ปกครอง การศึกษาไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบายและความต้องการ
ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจจากการประเมินความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการดำเนินงานจัดกิจกรรม พบว่า ครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความ
พึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่านักเรียนพึงพอใจมากที่สุด รองลงมา อยู่ในระดับมาก คือครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาตามลำดับ
ผลการศึกษาพบว่าความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างเพศของครู, กรรมการสถานศึกษา, ผู้ปกครองและนักเรียน กับ ความเหมาะสมของปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินงาน มีค่าความมีค่าความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง , ต่ำ, ต่ำ , ต่ำ ตามลำดับ แสดงว่า เพศของครูมีความสัมพันธ์ต่อความเหมาะสมของปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินงาน ส่วนเพศของกรรมการสถานศึกษา, ผู้ปกครองและนักเรียน ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยในการดำเนินงาน
ผลการศึกษาพบว่าความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาของครู, กรรมการสถานศึกษา, ผู้ปกครอง กับ ความเหมาะสมของปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินโครงการพบว่า การศึกษาของครูมีความสัมพันธ์มากต่อความเหมาะสมของปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินงาน ส่วนการศึกษาของกรรมการสถานศึกษามีความสัมพันธ์ต่อความเหมาะสมของปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินงานและ การศึกษาของ ผู้ปกครอง ไม่มีความสัมพันธ์กับความเหมาะสมกับปัจจัยในการดำเนินงาน
ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจ จากการประเมินความพึงพอใจต่อกระบวนการดำเนินงาน ตามโครงการเยี่ยมบ้านโรงเรียนบ้านจบก พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับ มาก โดยแยกเป็นด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา อยู่ในระดับมาก ด้านการวางแผน อยู่ในระดับมาก ด้านการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก และด้านการประเมินผล อยู่ในระดับมาก
ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างเพศ , การศึกษาของครู, กรรมการสถานศึกษา, ผู้ปกครองและนักเรียน กับการดำเนินงาน ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา พบว่าเพศของครูกรรมการสถานศึกษา, ผู้ปกครองและนักเรียนไม่มีความสัมพันธ์กันกับการดำเนินการด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และการศึกษาของครูและกรรมการสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับการดำเนินการด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาส่วนการศึกษาของผู้ปกครองไม่มีความสัมพันธ์
ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างเพศ,การศึกษาของครู, กรรมการสถานศึกษา,
ผู้ปกครองและนักเรียน กับการดำเนินงาน ด้านการวางแผน พบว่าเพศของครู กรรมการสถานศึกษา, ผู้ปกครองและนักเรียนไม่มีความสัมพันธ์กันกับการดำเนินการด้านการวางแผนและการศึกษาของครูมีความสัมพันธ์กับการวางแผนมาก การศึกษาของกรรมการสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับการวางแผนและการศึกษาของผู้ปกครองไม่มีความสัมพันธ์กับการวางแผน
จากการประเมินความพึงพอใจต่อผลผลิตที่เกิดขึ้น ของการปฏิบัติตามโครงการ
ในการจัดทำโครงการเยี่ยมบ้านของโรงเรียนบ้านจบก พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับ มากเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าครูมีความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาอยู่ในระดับมากคือนักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา
ผลการศึกษาพบว่าความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างเพศของครู, กรรมการสถานศึกษา, ผู้ปกครองและนักเรียน กับ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน พบว่า เพศของครู ของกรรมการสถานศึกษา, ผู้ปกครองและนักเรียน ไม่มีความสัมพันธ์กับผลที่เกิดขึ้น
ผลการศึกษาพบว่าความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาของครู, กรรมการสถานศึกษา, ผู้ปกครอง กับ ผลที่เกิดขึ้นจากการพบว่า การศึกษาของครู ผู้ปกครอง ไม่มีความสัมพันธ์กับผลที่เกิดขึ้น ส่วนของกรรมการสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับผลที่เกิดขึ้น
สรุปได้ว่าการประเมินโครงการเยี่ยมบ้าน ครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกเรื่อง คือ มีความพึงพอใจ สภาพแวดล้อม ในด้าน
ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและความสอดคล้องกับความต้องการ ความพึงพอใจความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้น
ต่อผลผลิตที่เกิดขึ้น
ด้านคุณลักษณะของนักเรียน นักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่น่าพอใจ สามารถเรียนได้เต็มศักยภาพ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการทำงาน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงขึ้น และได้รับความช่วยเหลือทางด้านต่าง ๆ ให้มีความเป็นอยู่
ด้านเศรษฐกิจ และสังคมที่เหมาะกับตนเอง ด้านการผู้บริหารและการจัดการ ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนที่มีนวัตกรรมด้านการบริหาร กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ครอบครัวลูกดก โครงการ
เยี่ยมบ้าน ประจำปีการศึกษา 2549 ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการประเมินวิทยะฐานะชำนาญการ 5 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 จากผู้ยื่นคำขอครู ผู้ปกครองมีการประสานสัมพันธ์ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และสถานศึกษาได้รับการระดมทรัพยากร ในการจัดการศึกษาเพิ่มขึ้น จากข้อมูลดังกล่าวการดำเนินงานตามโครงการเยี่ยมบ้านเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา จึงสมควรให้มีการดำเนินตามโครงการกิจกรรมเยี่ยมบ้านในปีต่อไป
ข้อเสนอแนะ
ควรดำเนินโครงการต่อไป ด้วยการจัดกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลาย โดยประสานขอความร่วมมือกับทุกฝ่าย ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและตรงกับความต้องการ

chanchai กล่าวว่า...

ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียนบ้านตาเบา
ชื่อผู้ประเมิน นายสมชาย ชมเมิน
หน่วยงานที่สังกัด โรงเรียนบ้านตาเบา อำเภอปราสาท สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์
เขต 3
ปีที่รายงาน 2550

บทคัดย่อ

รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ได้แก่ ครู จำนวน 11 คน นักเรียน จำนวน 147 คน รวมทั้งหมด จำนวน 158 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา สำหรับครูและนักเรียน ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 และ .88 ตามลำดับ และแบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม การระดมความคิดเห็น และการสังเกตพฤติกรรม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

สรุปผลการประเมิน

1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ
ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก” ( = 4.26)
ผลการประเมินด้วยแบบสอบถามสอดคล้องกับผลการที่ให้นักเรียนโรงเรียนบ้านตาเบา แสดงความคิดเห็น และระดมความคิดเห็น ระหว่างวันที่ 20 – 24 มิถุนายน 2549 สรุปได้ว่า นักเรียนมีความรู้สึกว่า การเรียนอยู่แต่ในห้องเรียนทำให้จำเจและน่าเบื่อหน่าย ครูควรพานักเรียนออกไปเรียนนอกห้องเรียนบ้าง ศึกษาสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่นอกห้องเรียนบ้าง เช่น สนามหญ้าของโรงเรียน สวนหย่อมของโรงเรียน หรือออกไปข้างนอกโรงเรียนบ้าง ซึ่งจะทำให้บทเรียนน่าสนใจ และนักเรียนได้เปลี่ยนบรรยากาศการเรียนด้วย

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก”
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ
ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก”
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ
4.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้
ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก”
ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก”
4.2 ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ของนักเรียน
ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มากที่สุด”
4.3 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน
ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มากที่สุด”
ผลการประเมินจากแบบสอบถามสอดคล้องกับที่ครูสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน ตลอดเวลาที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนเพิ่มขึ้น เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังครูอธิบาย และตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมจนแล้วเสร็จ การหยอกล้อและคุยกับเพื่อนขณะที่ครูสอนลดลง
2. นักเรียนสนุกสนานกับการได้ออกไปเรียนนอกห้องเรียน นักเรียนจะอารมณ์ดี มีปฏิกิริยาเชิงบวกตอบโต้กับครู และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างเต็มที่ ซึ่งทำให้กิจกรรมการเรียนรู้มีชีวิตชีวา
3. นักเรียนรับผิดชอบงานที่มอบหมายให้ดี โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการลงปฏิบัติจริง นักเรียนจะจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ได้ครบตามที่กำหนดเสมอ
4. นักเรียนส่วนใหญ่สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนได้ จากการสังเกตนักเรียนจะมีการแบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่ม และช่วยกันทำงานเพื่อกลุ่มประสบความสำเร็จ ยกเว้นนักเรียนบางกลุ่มห้องละประมาณ 2-3 คน ที่มั่วแต่เล่น ไม่สนใจกลุ่ม และไม่รับผิดชอบงานตามที่กลุ่มมอบหมายให้
5. นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครู และเพื่อน มีลักษณะของความมีชีวิตชีวา กระตือรือร้น และให้ความสนใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว และมีทักษะในการสังเกตมากขึ้น

เมื่อพิจารณาผลการประเมินตามเกณฑ์การประเมินที่ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นไว้ คือ ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.51 ขึ้นไป หรือผลการประเมินอยู่ในระดับมาก จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน (วิจิตร ลูกบัว, 2546 : 51) หรืออยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ พบว่า ทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน


















กิตติกรรมประกาศ

รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบาสำเร็จลุล่วงด้วยดี ด้วยความอนุเคราะห์ของนาย................................................. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 นาย................. ........................รองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ที่ได้ให้คำปรึกษาแนะนำอย่างดียิ่ง
ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบเครื่องมือ และเป็นที่ปรึกษาการวิจัย คือ...................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
ขอขอบคุณคณะครู และนักเรียน โรงเรียนบ้านตาเบา ที่ให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ขอขอบพระคุณเจ้าของตำรา เอกสาร และงานวิจัยต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งความรู้ในการจัดทำรายงานฉบับนี้
คุณค่าและประโยชน์จากรายงานฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบคุณความดีให้แก่ครู อาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ มาตั้งแต่ต้น

นายสมชาย ชมเมิน












สารบัญ


บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ง
สารบัญ จ
สารบัญตาราง ซ
สารบัญแผนภาพ ญ

บทที่ 1 บทนำ........................................................................................................ 1
ความเป็นมาและหลักการเหตุผลของการประเมินโครงการ..................... 1
วัตถุประสงค์การประเมินโครงการ.......................................................... 3
ขอบเขตของการประเมินโครงการ........................................................... 3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ...................................................................... 4
นิยามศัพท์เฉพาะ...................................................................................... 4
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง................................................................ 6
1. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้........................................................... 7
2. องค์ประกอบที่มีผลต่อการเรียนรู้..................................................... 13
3. แหล่งเรียนรู้...................................................................................... 20
3.1 ความหมายของแหล่งเรียนรู้.................................................. 20
3.2 ประเภทของแหล่งเรียนรู้....................................................... 20
3.3 ความสำคัญและประโยชน์ของการใช้แหล่งเรียนรู้................ 24
3.4 การนำแหล่งเรียนรู้มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน... 27
3.5 การพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้........................ 31
3.6 การพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และสังคมแห่งปัญญา.......................................................................................
33
4. โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา......................... 34
5. ทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมินโครงการ................................................ 36
5.1 ความหมายของการประเมินโครงการ.................................... 36
5.2 วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ................................. 38
สารบัญ (ต่อ)

หน้า

5.3 ประเภทของการประเมินโครงการ......................................... 39
5.4 องค์ประกอบการประเมิน...................................................... 42
5.5 รูปแบบการประเมิน............................................................... 46
5.6 รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam : CIPP Model)………………………………………………….......
48
บทที่ 3 วิธีการประเมินโครงการ........................................................................... 58
รูปแบบ/แผนการประเมินโครงการ.......................................................... 59
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง....................................................................... 63
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล................................................... 64
การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล................... 67
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลตามกรอบการประเมิน..................................... 68
การวิเคราะห์ข้อมูล................................................................................... 69
เกณฑ์การประเมิน.................................................................................... 69
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล................................................................ 69
บทที่ 4 ผลการประเมินโครงการ........................................................................... 71
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ...................................... 72
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ....................................... 73
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ................................ 74
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ......................................... 76
4.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้........................ 76
4.2 ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ของนักเรียน. 79
4.3 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน................................... 80
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ........................................................ 83
วัตถุประสงค์การประเมินโครงการ.......................................................... 83
รูปแบบของการประเมินโครงการ........................................................... 83
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล.................................................. 83
สารบัญ (ต่อ)

หน้า

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลตามกรอบการประเมิน..................................... 84
การวิเคราะห์ข้อมูล................................................................................... 85
สรุปผลการประเมินโครงการ.................................................................. 85
อภิปรายผลการประเมิน............................................................................ 88
ข้อเสนอแนะ............................................................................................. 90
- ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้................................. 90
- ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาในโอกาสต่อไป........................... 91
บรรณานุกรม................................................................................................................... 92
ภาคผนวก........................................................................................................................ 97
ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ.................................................................. 98
ภาคผนวก ข เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล...................................................... 100
ภาคผนวก ค ผลการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นเชิงความสอดคล้องภายในเครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล.....................................................................
115
ภาคผนวก ง เอกสารอ้างอิง.............................................................................................. 126












สารบัญตาราง

ตาราง หน้า

1 แสดงประเด็นที่ต้องการประเมิน.............................................................. 52
2 สรุปลักษณะของการประเมินโดยใช้ CIPP Model................................... 53
3 แผนการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา ..... 59
4 แสดงจำนวนกลุ่มตัวอย่างครูโรงเรียนบ้านตาเบา จำแนกตามตำแหน่ง
เพศและระดับการศึกษา.......................................................................................
64
5 แสดงจำนวนกลุ่มตัวอย่างนักเรียนโรงเรียนบ้านตาเบา จำแนกตามเพศ และระดับชั้น............................................................................................
64
6 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา...................................
71
7 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา...................
73
8 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา…...
74
9 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของครู...........................................................................................................


76
10 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการประเมิน ด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ ตาม
ความคิดเห็นของนักเรียน.....................................................................................


77
11 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการประเมิน ด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้
ตามความคิดเห็นของนักเรียน...............................................................


79


สารบัญตาราง (ต่อ)

ตาราง หน้า

12 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตาเบา เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน
80




















สารบัญแผนภาพ

หน้า

1 ความสัมพันธ์ของประเภทการตัดสินใจและประเภทของการประเมินตามรูปแบบของสตัฟเฟิลบีม....................................................................
51
























รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้
ในโรงเรียนบ้านตาเบา





โดย
นายสมชาย ชมเมิน
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตาเบา




สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ